
เห็นด้วยกับป้อม Nithinand Yorsaengrat
เริ่มต้นเมื่อผมตัดสินใจเข้า "สนามเฟซบุ๊ก" หลังการทำรัฐประหารของ คสช.เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ท่าทีของผมก็คล้ายๆป้อม คือยังลังเล และไม่่เต็มใจที่จะใช้คำนี้ ยังเที่ยวถามใครต่อใคร ( เช่นลูกชาย ) ว่า "สลิ่ม" คืออะไร มีต้นทางมาจากใคร มาจาก "คำ ผกา" มาจาก "บก.ลายจุด" แยกแยะไว้แบบไหน หมายถึงชุดความคิดแบบใด รู้ว่าคือ "สีเหลือง" แต่ "สีเหลือง" แบบไหน ใช่พวกที่เรียกว่า "หลากสี" ของหมอคนนั้นหรือเปล่า ก็ให้ลังเลอยู่
จำได้ว่าช่วงกลางปี 2549 ที่ออกไปอ่านแถลงการณ์ ให้ "ทักษิณเว้นวรรคทางการเมือง" ผมยังชอบพูดว่า คนทำงานศิลปะต้องไม่ติดยึดกับสีใดสีเดียว ตอนเขียน "สิงห์สนามหลวง" ยังเห็นแต่ภาพ " ศิลปะทั้งผองพี่น้องกัน " คือต้องหลากสีหลายเฉด พูดง่ายๆก็คือ ผมยังไม่ชัดเจนนั่นแหละ ติดว่า "ขบวนสีแดง" ก็คือแนวร่วมของทักษิณ แต่ความจริงในรายละเอียดมันไม่ใช่ เมื่อเกิดรัฐประหาร 2549 ของ "บิ๊กบัง" ผมก็ เริ่มไม่แน่ใจแล้ว แต่ตัวเองก็ยังไม่ชัด รัฐธรรมนูญปี 2550 นิธิกับชาญวิทย์เขา Vote No ผมไปลงประชามติ Perhap ( คือใช้สิทธิ์ไม่ออกเสียง )
จนกระทั่งอภิสิทธิ์เอาทหารออกมา "ขอคืนพื้นที่" และมีการฆาตกรรมกลางเมืองเกิดขึ้นโดยอำนาจรัฐในปี 2553 นั่นแหละผมจึง "ตาสว่าง" ทันที ไม่ใช่ "ตาสว่าง" เพราะทักษิณ หรือ นปช. แต่ "ตาสว่าง" เพราะเห็นว่า ไม่ว่าเสื้อเหลือง หรือเสื้อแดง รวมทั้งทหาร-ตำรวจ ที่ออกทำหน้าที่ตามคำสั่งของอำนาจรัฐ ต่างก็เป็น Victim ของสถานการณ์ที่ก็คงไม่ต่างจาก "เสือดำ" ตัวนั้น และในตอนนั้นผมก็ยังไม่ใช้คำว่า "สลิ่ม" คืออยากขอดูเป็นเรื่องๆไปก่อน รัฐประหารของ คสช.ผ่านไป 2 ปีก็ยังไม่ใช้คำนี้ คำว่า "กะลาแลนด์" ก็ยังไม่ใช้เช่นกัน
จนล่วงเข้ารัฐประหาร คสช.ปีที่ 3 หลังจากถูก "ไอ้และอีหอกหัก" ทั้งหลายเข้ามากระหนํ่าผมร้อยแปด - ตั้งแต่ "นักเขียนอันธพาล" จนมาถึง "ควายแดง" "แดงกระทันหัน" "ทักษิณซื้อตัวไปแล้ว" เรื่อยมาจนถึงกรณี "เสือดำ" ที่เห็นไปว่าผม "โหนเสือ" เอาไปเปรียบกับพวกเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง" ขนาดบอกว่า เป็นพืชตระกูลถั่ว" บ้าง ( คือชอบเกาะ ชอบโหน ) เป็น "สัตว์ติดซาก" บ้าง หรือไม่ก็เห็นว่า "ตั้งแต่นํ้าท่วมบ้าน เลยหูหนวกตาบอดมาเรื่อย" ผมก็อดทนมาเรื่อย
จนมาในช่วงรอยต่อของ คสช.ปีที่ 3 และปีที่ 4 นั่นแหละ ที่ผมเริ่มใช้คำว่า "สลิ่ม" เพราะชัดเจนแล้วว่า ถึงเวลาต้องขีดเส้นกลาง นี่ก็มีคนมาบอกว่า อย่าใช้คำนี้เลย เสียแนวร่วม ผมก็ฟังนะ และยินดีจะเลิกใช้เมื่อ คสช.เลิกสถานะรัฐประหารและเลิกหยุดยื้อการเลือกตั้ง ( ทั้งๆที่ผมร่วมรณรงค์ Vote No ไม่เอาด้วยกับรัฐธรรมนูญ 2560 ของ คสช. ) ก็ต้อง ก็ต้องกลับไปหารายละเอียดเป็นเรื่องๆ เป็นคนๆ ว่าจะใช้คำว่า "สลิ่ม"ได้หรือไม่ แต่มาตอนนี้ผมไม่ค่อยแคร์กับคำว่า "แนวร่วม" แล้ว ขนาดเคยช่วยหาทางว่าออกมา "สำนึกพลาด" ( เหมือน นพ.มงคล ณ สงขลา" ที่ออกมาบอกว่า "ผมขอโทษที่เคยไปร่วมกับ กปปส." ) ประกาศผ่านทางหน้าเฟซบุ๊กก็ได้ว่า ขอโทษที่ไปร่วมเขียนบทกวี หรือวาดรูป หาเงินช่วย "ลุงกำนัน" จนทำให้ กปปส เหิมเกริม ประกาศตัวกร่าง ( ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง ) แม้ยิ่งลักษณ์ประกาศยุบสภาแล้ว ก็ไม่เลิกชุมนุม ยังเป่าขลุ่ย เป่านกหวีด ขัดขวางการเลือกตั้งกันอีกยาว จนกลายเป็นเหมือนการสมรู้ร่วมคิด ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อให้ "ทหาร" ออกมาทำรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
แล้วหลังจากนั้นก็ยังทำเนียน ทำเบลอ ทำเมิน บางกวีใช้วิธีแบบเซ็น คือ "ความนิ่งสยบความเคลื่อนไหว" หันไปเขียนเรื่องธรรมชาติ เรื่องอาหาร ฯลฯ เก็บขลุ่ย เก็บนกหวีด ทำเป็นไม่สนใจการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน และเรื่องที่ทหารเข้ามาใช้อำนาจนิยมครองเมือง ( เช่นเลยเถิดไปถึงขนาด "ประชาธิปไตยก็คือเผด็จการอีกรูปแบบหนึ่ง" ) ) ก็ถ้าเป็นเช่นนี้จะนิ่งได้อย่างไร มันเคลื่อนในอีกรูปแบบหนึ่งอยู่ตลอดเวลา แม้จะทำเป็นด่าเรื่องพลังงาน เรื่องนาฬิกา เรื่องล่าสัตว์ แต่เมื่อไม่ออกมา "สำนึกพลาด" เสียก่อน พวกเขาก็ยังคือ "สลิ่ม" นั่นเอง
